วันอังคารที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2561

เทคนิคการอ่านทำนองเสนาะ





การอ่านออกเสียงทำนองเสนาะ
๑. ความหมายของ “การอ่านทำนองเสนาะ”       
          การอ่านทำนองเสนาะ คือ วิธีการอ่านออกเสียงอย่างไพเราะตามลีลาของบทร้อยกรองแต่ละประเภทหรือหมายถึง การอ่านตามทำนอง (ทำนอง = ระบบเสียงสูงต่ำ ซึ่งมีจังหวะสั้นยาว) เพื่อให้เกิดความเสนาะ (เสนาะ, น่าฟัง, เพราะ, วังเวงใจ)

๒. วัตถุประสงค์ในการอ่านทำนองเสนาะ     
            การอ่านทำนองเสนาะเป็นการอ่านให้คนอื่นฟัง ฉะนั้นทำนองเสนาะต้องอ่านออกเสียง เสียงทำให้เกิดความรู้สึก-ทำให้เห็นความงาม-เห็นความไพเราะ-เห็นภาพพจน์ ผู้ฟังสัมผัสด้วยเสียงจึงจะเข้าถึงรสและความงามของบทร้อยกรอง ที่เรียกว่าอ่านแล้วฟังพริ้งเพราะเสนาะโสต การอ่านทำนองเสนาะจึงมุ่งให้ผู้ฟังเข้าถึงรสและเห็นความงามของบทร้อยกรอง 

๓. รสที่ใช้ในการอ่านทำนองเสนาะ 
       ๓.๑ รสถ้อย (คำพูด) แต่ละคำมีรสในคำของตัวเอง ผู้อ่านจะต้องอ่านให้เกิดรสถ้อย 
ตัวอย่าง
                    สักวาหวานอื่นมีหมื่นแสน       ไม่เหมือนแม้นพจมานที่หวานหอม 
   กลิ่นประเทียบเปรียบดวงพวงพะยอม   อาจจะน้อมจิตโน้มด้วยโลมลม 
   แม้นล้อลามหยามหยาบไม่ปลาบปลื้ม  ดังดูดดื่มบอระเพ็ดต้องเข็ดขม 
   ผู้ดีไพร่ไม่ประกอบชอบอารมณ์           ใครฟังลมเมินหน้าระอาเอย 

                                                            (พระเจ้าวรวงศ์เธอกรมหลวงบดินทร์ไพศาลโสภณ)
       ๓.๒  รสความ (เรื่องราวที่อ่าน) ข้อความที่อ่านมีเรื่องราวเกี่ยวกับอะไร 
เช่นโศกเศร้า สนุกสนาน ตื่นเต้น โกรธ รัก เวลาอ่านต้องอ่านให้มีลีลาไปตามลักษณะของเนื้อเรื่องนั้นๆ 
     ตัวอย่าง : บทโศกตอนที่นางวันทองไปส่งพลายงามให้ไปหาย่าทองประศรีที่สุพรรณบุรี 

                      ลูกก็แลดูแม่แม่ดูลูก                  ต่างพันผูกเพียงว่าเลือดตาไหล 
        สะอื้นร่ำอำลาด้วยอาลัย                         แล้วแข็งใจจากนางตามทางมา 
        เหลียวหลังยังเห็นแม่แลเขม้น                แม่ก็เห็นลูกน้อยละห้อยหา 
        แต่เหลียวเหลียวเลี้ยวลับวับวิญญาณ์     โอ้เปล่าตาต่างสะอื้นยืนตะลึง

                                                                      (เสภาขุนช้างขุนแผน ตอนกำเนิดพลายงาม : สุนทรภู่)
       ๓.๓ รสทำนอง (ระบบเสียงสูงต่ำซึ่งมีจังหวะสั้นยาว) ในบทร้อยกรองไทยจะประกอบด้วยทำนองต่างๆ เช่น ทำนองโคลง ทำนองฉันท์ ทำนองกาพย์ ทำนองกลอนและทำนองร่าย เป็นต้น
                             สัตว์ พวกหนึ่งนี้ชื่อ            พหุบา ทาแฮ 
                    มี  อเนกสมญา                            ยอกย้อน 
                    เท้า   เกิดยิ่งจัตวา                         ควรนับ เขานอ                     

                                        มาก จวบหมิ่นแสนซ้อน             สุดพ้นประมาณฯ 
                                                       (สัตวาภิธาน : พระยาศรีสนทรโวหาร (น้อย อาจารยากูร)
       ๓.๔ รสคล้องจอง ในบทร้อยกรองต้องมีคำคล้องจอง ในคำคล้องจองนั้นต้องให้ออกเสียงต่อเนื่องกันโดยเน้นสัมผัสนอกเป็นสำคัญ เช่น 
         ถึงโรงเหล้าเตากลั่นควันโขมง       มีคันโพงผูกสายไว้ปลายเสา    

โอ้บาปกรรมน้ำนรกเจียวอกเรา          ให้มัวเมาเหมือนหนึ่งบ้าเป็นน่าอาย    
ทำบุญบวชกรวดน้ำขอสำเร็จ             พระสรรเพชญโพธิญาณประมาณหมาย 
ถึงสุราพารอดไม่วอดวาย                   ไม่ใกล้กรายแกล้งเมินก็เกินไป 
ไม่เมาเหล้าแล้วแต่เรายังเมารัก           สุดจะหักห้ามจิตคิดไฉน 
 ถึงเมาเหล้าเช้าสายก็หายไป               แต่เมาใจนี้ประจำทุกค่ำคืน 
                                                                                                 (นิราศภูเขาทอง : สุนทรภู่)

       ๓.๕ รสภาพ เสียงทำให้เกิดภาพ ในแต่ละคำจะแฝงไปด้วยภาพในการอ่านให้เห็นภาพต้องใช้เสียงสูง-ต่ำ ดัง - ค่อย แล้วแต่จะให้เกิดภาพอย่างไร เช่น 
              “มดเอ๋ยมดแดง                        เล็กเล็กเรี่ยวแรงแข็งขยัน”
             “สุพรรณหงส์ทรงพู่ห้อย          งามชดช้อยลอยหลังสินธุ์”
             “อยุธยายศล่มแล้ว                     ลอยสวรรค์ ลงฤๅ”


๔.    หลักการอ่านทำนองเสนาะ มีดังนี้ 

       ๑. ก่อนอ่านทำนองเสนาะให้แบ่งคำแบ่งวรรคให้ถูกต้องตามหลักคำประพันธ์เสียก่อน โดยต้องระวังในเรื่องความหมายของคำด้วย เพราะคำบางคำอ่านแยกคำกันไม่ได้ เช่น 
                     “สร้อยคอขนมยุระ                     ยูงงาม”
                                                                              (ขน-มยุระ, ขนม-ยุระ)
                     “หวนห่วงม่วงหมอนทอง          อีกอกร่องรสโอชา”
                                                                             (อีก-อก-ร่อง, อี-กอ-กร่อง)
                     “ดุเหว่าจับเต่าร้างร้อง              เหมือนจากห้องมาหยารัศมี”      
                                                                            (จับ-เต่า-ร้าง, จับ-เต่า)
                     “แรงเหมือนมดอดเหมือนกา              กล้าเหมือนหญิง”
                                                                            (เหมือน-มด, เหมือน-มด-อด)

       ๒.    อ่านออกเสียงธรรมดาให้คล่องก่อน
       ๓.     อ่านให้ชัดเจน โดยเฉพาะออกเสียง ร ล และคำควบกล้ำให้ถูกต้อง เช่น
               “เกิดเป็นชายชาตรีอย่าขี้ขลาด      บรรยากาศปลอดโปร่งโล่งสมอง
หยิบน้ำปลาตราสับปะรดให้ทดลอง           ไหนเล่าน้องครีมนวดหน้าทาให้ที
เนื้อนั้นมีโปรตีนกินเข้าไว้                          คนเคราะห์ร้ายคลุ้มคลั่งเรื่องหนังผี
ใช้น้ำคลองกรองเสียก่อนจึงจะดี                 เห็นมาลีคลี่บานหน้าบ้านเอย”

       ๔.     อ่านให้เอื้อสัมผัส เรียกว่า คำแปรเสียง เพื่อให้เกิดเสียงสัมผัสที่ไพเราะ เช่น 
                          พระสมุทรสุดลึกล้น                  คณนา
         (อ่านว่า     พฺระ-สะ-หมุด-สุด-ลึก-ล้น        คน-นะ-นา)
                          ข้าขอเคารพอภิวาท                    ในพระบาทบพิตรอดิสร
         (อ่านว่า     ข้า-ขอ-เคา-รบ-อบ-พิ-วาด          ใน-พฺระ-บาด-บอ-พิด-อะ-ดิด-สอน
                          ขอสมหวังตั้งประโยชน์โพธิญาณ
          (อ่านว่า     ขอ-สม-หฺวัง-ตั้ง-ปฺระ-โหฺยด-โพด-ทิ-ยาน)
       ๕.     ระวัง ๓ ต อย่าให้ตกหล่น อย่าต่อเติม และอย่าตู่ตัว
       ๖.     อ่านให้ถูกจังหวะ คำประพันธ์แต่ละประเภทมีจังหวะแตกต่างกัน ต้องอ่านให้ถูกวรรคตอนตามแบบแผนของคำประพันธ์
                นั้นๆ เช่น มุทิงคนาฉันท์ (๒-๒-๓)
                  “ป๊ะโท่น / ป๊ะโทน /ป๊ะโท่นโท่น      บุรุษ / สิโอน / สะเอวไหว
                  อนงค์ / นำเคลื่อน / เขยื้อนไป   สะบัด / สไบ / วิไลตา”
       ๗.     อ่านให้ถูกทำนองของคำประพันธ์นั้นๆ (รสทำนอง)
       ๘.     ผู้อ่านต้องใส่อารมณ์ตามรสความของบทประพันธ์นั้นๆ รสรัก โศก ตื่นเต้น ขบขัน โกรธ แล้วใส่น้ำเสียงให้สอดคล้อง
กับรสหรืออารมณ์ต่างๆ เหล่านั้น
       ๙.     อ่านให้เสียงดัง (พอที่จะได้ยินกันทั่วถึง)ไม่ใช่ตะโกน
       ๑๐.   เวลาอ่านอย่าให้เสียงขาดเป็นช่วงๆ ต้องให้เสียงติดต่อกันตลอด เช่น
“วันจันทร์ มีดารากร เป็นบริวาร เห็นสิ้นดินฟ้า ในป่าท่าธาร มาลีคลี่บาน       ใบก้านอรชร”
       ๑๑.  เวลาจบให้ทอดเสียงช้าๆ


             ตัวอย่าง การสอนอ่านทำนองเสนาะ


   ตัวอย่าง การอ่านทำนองเสนาะของ น.ส.ธิติมา ชาลีโสม  
มัยมศึกษาปีที่ ๔ ในการประกวด KKTV KKS





๕.   ประโยชน์ที่ได้รับจากการอ่านทำนองเสนาะ
       ๑.     ช่วยให้ผู้ฟังเข้าถึงรสและเห็นความงามของบทร้อยกรองที่อ่าน
       ๒.    ช่วยให้ผู้ฟังได้รับความไพเราะและเกิดความซาบซึ้ง (อาการรู้สึกจับใจอย่างลึกซึ้ง)
       ๓.     ช่วยให้เกิดความสนุกสนาน ความเพลิดเพลิน
       ๔.     ช่วยให้จดจำบทร้อยกรองได้รวดเร็วและแม่นยำ
       ๕.     ช่วยกล่อมเกลาจิตใจให้เป็นคนอ่อนโยนและเยือกเย็น (ประโยชน์โดยอ้อม)
       ๖.     ช่วยสืบทอดวัฒนธรรม ในการอ่านทำนองเสนาะไว้เป็นมรดกต่อไป




เพลงช่วยจำคำไวพจน์



เพลงช่วยจำคำไวพจน์



คำไวพจน์ คืออะไร...


                   คำไวพจน์ คือ คำที่มีความหมายเหมือนกัน แต่ใช้ในบริบทต่าง ๆกัน หรือเรียก   อีกอย่างว่า คำพ้องความ ความหมายตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พุทธศักราช ๒๕๕๒ ให้คำอธิบายว่า "คำที่เขียนต่างกันแต่มีความหมายเหมือนกันหรือใกล้เคียงกันมาก เช่น มนุษย์ กับ คน บ้าน กับ เรือน รอ กับ คอย ป่า กับ ดง คำพ้องความ ก็ว่า"       (พจนานุกรม ๒๕๔๒ หน้า ๑๐๙๑)

ตัวอย่างบทกลอนช่วยจำคำไวพจน์ในหมวดต่างๆ

๑.คำไวพจน์ พระเจ้าแผ่นดิน








๒.คำไวพจน์ น้ำ
                          
                         










๓.คำไวพจน์ ปลา
                        



๔.คำไวพจน์ แผ่นดิน




๕.คำไวพจน์ ดอกไม้











๖.คำไวพจน์ ดอกบัว

ตัวอย่าง บทเพลงช่วยจำคำไวพจน์
 "น้ำ แผ่นดิน ดอกไม้" ทำนองเพลงตัวร้ายที่รักเธอ


ตัวอย่าง เพลงช่วยจำคำไวพจน์ "กษัตริย์"

ทำนองเพลงคิดถึงนะ


ตัวอย่างการใช้คำไวพจน์ในบทกลอน บทกวี

                       ถึงม้วยดินสิ้นฟ้ามหาสมุทร      ไม่สิ้นสุดความรักสมัครสมาน    
                    แม้อยู่ในใต้หล้าสุธาธาร                    ขอพบพานพิศวาสไม่คลาดคลา            
                    แม้เนื้อเย็นเป็นห้วงมหรรณพ            พี่ขอพบศรีสวัสดิ์เป็นมัจฉา   
                    แม้เป็นบัวตัวพี่เป็นภุมรา                   เชยผกาโกสุมปทุมทอง                           
กลอนบทนี้จะพบคำไวพจน์ดังนี้                                                                             
๑. หล้า  =  แผ่นดิน     ๒. สุธาธาร   น้ำ        ๓. มัจฉา  =  ปลา                       
 ๔. ภุมรา  =  แมลงผึ้ง, แมลงภู่  ๕. ผกา,โกสุม=  ดอกไม้     ๖. ปทุม   บัวหลวง


ตัวอย่างการใช้คำไวพจน์ในบทเพลง     
       
ฟากฟ้ายามเย็น เห็นแสงรำไร    อาทิตย์จะลับโลกไป 
จะโผล่ขึ้นมา  หมู่มวลวิหค  เหินลมอยู่กลางเวหา หลับคืนสู่ชายคา  
 ชายป่าคือแหล่งพักพิง  แต่น้องนางไยไม่เห็นกลับมา  จากไปตั้งหลายปีกว่า      ท้องนาบ้านเราเหงาจัง    
กลอนบทนี้จะพบคำไวพจน์ดังนี้           
 ๑. วิหค  =  นก                                                                                    
 ๒. เวหา   ฟ้า                                                                              
๓. เหิน  =  บิน, เหาะ





อ้างอิง



ศิลปะลายเส้น



ศิลปะลายเส้น



ที่มาของศิลปะลายเส้น

     ความเป็นมา

           ศิลปะไทย เป็นเอกลักษณ์ของชาติไทย ซึ่งคนไทยทั้งชาติต่างภาคภูมิใจอย่างยิ่ง ความงดงามที่สืบทอดอันยาวนานมาตั้งแต่อดีต บ่งบอกถึงวัฒนธรรมที่เกิดขึ้น โดยมีพัฒนาการบนพื้นฐานของความเป็นไทย ลักษณะนิสัยที่อ่อนหวาน ละมุนละไม รักสวยรักงาม ที่มีมานานของสังคมไทย ทำให้ศิลปะไทยมีความประณีตอ่อนหวาน เป็นความงามอย่างวิจิตรอลังการที่ทุกคนได้เห็นต้องตื่นตา ตื่นใจ
          ลักษณะความงามนี้จึงได้กลายเป็นความรู้สึกทางสุนทรียภาพโดยเฉพาะคนไทยและศิลปะไทยยังตัดเส้นด้วยสีดำและสีน้ำตาลเท่านั้นเมื่อเราได้สืบค้นความเป็นมาของสังคมไทย พบว่าวิถีชีวิตอยู่กันอย่างเรียบง่าย มีประเพณีและศาสนาเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจ สังคมไทยเป็นสังคมเกษตรกรรมมาก่อน ดังนั้น ความผูกพันของจิตใจจึงอยู่ที่ธรรมชาติแม่น้ำและพื้นดิน สิ่งหล่อหลอมเหล่านี้จึงเกิดบูรณาการเป็นความคิด ความเชื่อและประเพณีในท้องถิ่น แล้วถ่ายทอดเป็นวัฒนธรรมไทยอย่างงดงาม  ที่สำคัญวัฒนธรรมช่วยส่งต่อคุณค่าความหมายของสิ่งอันเป็นที่ยอมรับในสังคมหนึ่ง ๆ ให้คนในสังคมนั้นได้รับรู้แล้วขยายไปในขอบเขตที่กว้างขึ้น ซึ่งส่วนใหญ่การสื่อสารทางวัฒนธรรมนั้นกระทำโดยผ่านสัญลักษณ์ และสัญลักษณ์นี้คือผลงานของมนุษย์นั้นเองที่เรียกว่า "ศิลปะไทย"
          ปัจจุบันคำว่า “ศิลปะไทย” กำลังจะถูกลืมเมื่ออิทธิพลทางเทคโนโลยีสมัยใหม่เข้ามาแทนที่สังคมเก่าของไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งโลกแห่งการสื่อสารได้ก้าวหน้าล้ำยุคมาก จนเกิดความแตกต่างอย่างเห็นได้ชัดเมื่อเปรียบเทียบกับสมัยอดีต โลกในยุคปัจจุบันทำให้คนไทยมีความคิดห่างไกลตัวเองมากขึ้น และอิทธิพลดังกล่าวนี้ทำให้คนไทยลืมตัวเราเองมากขึ้นจนกลายเป็นสิ่งสับสนอยู่กับสังคมใหม่อย่างไม่รู้ตัว มีความวุ่นวายด้วยอำนาจแห่งวัฒนธรรมสื่อสารที่รีบเร่งรวดเร็วจนลืมความเป็นเอกลักษณ์ของชาติเมื่อเราหันกลับมามองตัวเราเองใหม่ ทำให้ดูห่างไกลเกินกว่าจะกลับมาเรียนรู้ว่า พื้นฐานของชาติบ้านเมืองเดิมเรานั้น มีความเป็นมาหรือมีวัฒนธรรมอย่างไร ความรู้สึกเช่นนี้ ทำให้เราลืมมองอดีตตัวเอง การมีวิถีชีวิตกับสังคมปัจจุบันจำเป็นต้องดิ้นรนต่อสู้กับปัญหาต่าง ๆ ที่วิ่งไปข้างหน้าอย่างรวดเร็ว 
          ถ้าเรามีปัจจุบันโดยไม่มีอดีต เราก็จะมีอนาคตที่คลอนแคลนไม่มั่นคง การดำเนินการนำเสนอแนวคิดในครั้งนี้ จึงเป็นเสมือนการค้นหาอดีต โดยต้องการให้อนุชนได้มองเห็นถึง ความสำคัญของบรรพบุรุษ ผู้สร้างสรรค์ศิลปะไทย ให้เราทำหน้าที่สืบสานต่อไปในอนาคต

ความสำคัญ

     ความสำคัญของศิลปะกับลายเส้น

  เส้นเป็นพื้นฐานที่สำคัญของงานศิลปะทุกชนิด     เส้นสามารถให้ความหมาย แสดง ความรู้สึก และอารมณ์ได้ด้วยตัวเอง และด้วยการสร้างเป็นรูปทรงต่าง ๆได้หลากหลาย

ลักษณะการออกแบบ


ทัศนธาตุ "จินตนาการไม่มีที่สิ้นสุด" By.aiwty



ตัวอย่างผลงาน


การนำศิลปะลายเส้นมาใช้ในการเล่านิทาน

นิทานเรื่อง "อูด้ง[Udon]" [Byปลื้ม] (Ep.6) l VRZO



นิทานสอนใจ เรื่อง ตุ๊กตาหิมะ




อ้างอิง
https://www.youtube.com/watch?time_continue=11&v=tEy-OrovCoc

https://www.youtube.com/watch?v=NGMnllRjSS4

https://www.youtube.com/watch?v=qvnax1QQ6Yg&t=429s

https://6218soraya.wordpress.com/%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%A8%E0%B8%B4%E0%B8%A5%E0%B8%9B%E0%B8%B0%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B9%80%E0%B8%AA%E0%B9%89%E0%B8%99/

https://6218soraya.wordpress.com/%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%AA%E0%B8%B3%E0%B8%84%E0%B8%B1%E0%B8%8D/

https://www.google.co.th/search?biw=1600&bih=745&tbm=isch&sa=1&ei=hiDkWuqVD8em8QW9rY3oBg&q=%E0%B8%A3%E0%B8%A7%E0%B8%A1%E0%B8%9C%E0%B8%A5%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%A8%E0%B8%B4%E0%B8%A5%E0%B8%9B%E0%B8%B0%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B9%80%E0%B8%AA%E0%B9%89%E0%B8%99&oq=%E0%B8%A3%E0%B8%A7%E0%B8%A1%E0%B8%9C%E0%B8%A5%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%A8%E0%B8%B4%E0%B8%A5%E0%B8%9B%E0%B8%B0%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B9%80%E0%B8%AA%E0%B9%89%E0%B8%99&gs_l=psy-ab.3...185395.194575.0.194956.24.20.0.0.0.0.149.2378.0j18.18.0....0...1c.1.64.psy-ab..6.2.282...0j0i30k1j0i24k1j0i13k1j0i13i30k1.0.EcC4wHqUHB8#imgrc=hHYcCnkDKw7LcM:

https://www.google.co.th/search?q=%E0%B8%A3%E0%B8%A7%E0%B8%A1%E0%B8%9C%E0%B8%A5%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%A8%E0%B8%B4%E0%B8%A5%E0%B8%9B%E0%B8%B0%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B9%80%E0%B8%AA%E0%B9%89%E0%B8%99&tbm=isch&tbs=rimg:CdgmBmTtQN1UIjg86DYEOaWTd9zYSJSHxQ1IUi4vuYUy4JKvEfy1Sc9riqD-HYx4Waz9Fj4KrT0I_1ODAiD6ja7jI0CoSCTzoNgQ5pZN3EfgyiZqMuItqKhIJ3NhIlIfFDUgRaJWB5Ha4u8QqEglSLi-5hTLgkhFDKmfFitW4aioSCa8R_1LVJz2uKESAGlSGtryBMKhIJoP4djHhZrP0RiqHL6o7zewoqEgkWPgqtPQj84BGinKj5A0gh5yoSCcCIPqNruMjQETrFDLBmR5O2&tbo=u&sa=X&ved=2ahUKEwjJpJK5uNzaAhVJpo8KHTOiAGYQ9C96BAgBEBs&biw=1600&bih=745&dpr=1#imgrc=Fj4KrT0I_ODceM: